top of page
สีขาว - Logo 50 Year_PATA Chemicals-02-01.png

5 ค่าพารามิเตอรที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

อัปเดตเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ค่าพารามิเตอร์ (Parameter) คือ ตัวกำหนดชี้วัดค่าของน้ำเสียและคุณภาพน้ำทิ้งจากแหล่งต่าง ๆ มีความสำคัญต่อระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป

5 ค่าพารามิเตอรที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
5 ค่าพารามิเตอรที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
  1. ค่า pH  

ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำ โดยค่า pH มีค่าตั้งแต่ 0 - 14 โดยที่ค่า 7 เป็นค่ากลาง ค่า pH ที่น้อยกว่า 7 บ่งบอกถึงคุณสมบัติเป็นกรด ในขณะที่ค่า pH ที่มากกว่า 7 แสดงถึงคุณสมบัติเป็นด่าง โดยทั่วไปโรงงานอุตสาหกรรมมักจะมีค่า pH ต่ำกว่า 4.5 ซึ่งหมายถึงมีค่าความเป็นกรดสูงและมีฤทธิ์กัดกร่อน (น้ำดื่มควรมีค่า pH ระหว่าง 6.8-7.3)

  1. BOD (Biochemical Oxygen Demand)

ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในกระบวนการทางชีวเคมีย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร (mg/L) หากค่า BOD สูงแสดงว่ามีความสกปรกหรือสารอินทรีย์ในน้ำมาก

  1. COD  (Chemical Oxygen Demand)

ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในกระบวนการทางเคมีย่อยสลายสารอินทรีย์ มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/ลิตร (mg/L) โดยทั่วไปค่า COD จะมีค่ามากกว่าค่า BOD เสมอ ดังนั้นค่า COD จึงเป็นตัวแปรสำคัญตัวหนึ่งที่แสดงถึงความสกปรกของน้ำเสีย

  1. DO (Dissolved Oxygen) 

ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ เป็นพารามิเตอร์ที่ใช้ในการกำหนดคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน มาตรฐานของน้ำที่มีคุณภาพดีโดยทั่วไปจะมีค่า DO ประมาณ 5-8 ppm น้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำกว่า 3 ppm

  1. TDS (Total Dissolved Solid)

ปริมาณของแข็งสารอนินทรีย์และอินทรีย์ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ เช่น โลหะ แร่ธาตุ เกลือ และไอออน ที่ละลายในน้ำเป็นตัวบ่งชี้รวมของการมีอยู่ของสารเคมีปนเปื้อนและลักษณะคุณภาพของน้ำดื่ม (ค่ามาตรฐานน้ำดื่มกำหนดไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อลิตร (PPM))


น้ำเสียนอกจากจะเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ หากไม่ได้รับการบำบัดอย่างเหมาะสม น้ำเสียที่ปนเปื้อนจะปล่อยสารพิษและเชื้อโรคเข้าไปในแหล่งน้ำได้

Comments


สร้างธุรกิจของคุณ

ให้ก้าวกระโดดยิ่งขึ้น!

มาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับเรา

กรอกรายละเอียด
เพื่อสอบถามข้อมูลที่คุณต้องการ

bottom of page