ระบบบำบัดน้ำเสียทางเคมี สามารถบำบัดน้ำเสียได้หลากหลายรูปแบบ แต่ต้องเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับสภาพน้ำเสียที่ต้องการบำบัด โดยทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี
1 . การตกตะกอนโดยใช้สารเคมี (Coagulation): เป็นการเติมสารเคมีลงไปในน้ำเพื่อทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนจำพวกสารแขวนลอยที่มีประจุลบอย่างดินเหนียว สีจากโรงงานฟอกย้อม และโลหะหนัก ซึ่งสารเคมีที่ใช้จะต้องมีประจุบวกอย่างสารส้ม และเกลือเหล็ก ถ้าเลือกใช้ระบบนี้แนะนำให้ใช้เกลือเหล็ก เพราะมีราคาถูก และใช้ปริมาณน้อยกว่าสารส้ม แต่ให้ผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพไม่ต่างกัน
2 . การทำให้เป็นกลาง (Neutralization): การปล่อยน้ำเสียที่บำบัดแล้วออกสู่ธรรมชาติค่า Ph ต้องอยู่ในช่วง 4 -9 หรือค่า Ph ที่แต่ละพื้นที่กำหนด
✅ ถ้าน้ำเสียมีค่าความเป็นด่างมากเกินไป สามารถเติมโซดาไฟ (NaOH) ปูนขาว (CaO) หรือ แอมโมเนีย (NH3) เพื่อปรับสมดุลให้เป็นกลางได้
✅ ถ้าน้ำเสียมีค่าความเป็นกรดมากเกินไป สามารถเติมสารเคมีอย่างกรดกํามะถัน (H2SO4) กรดเกลือ (HCL) หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
3. การทำลายเชื้อโรค (Disinfection): เชื้อโรคและแบคทีเลียคืออีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถปล่อยน้ำเสียที่ยังไม่ผ่านการบำบัดลงสู่ธรรมชาติได้ ซึ่งการจะกำจัดเชื้อโรคในน้ำเสียได้จะต้องใช้ระบบบำบัดน้ำเสียทางเคมีเป็นตัวจัดการ โดยการเติมคลอรีน สารประกอบคลอรีน หรือสารประกอบฟีนอลลงไปในน้ำเสีย
Comments